analyticstracking
หัวข้อ   “ สภาวการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563
                 คนไทยร้อยละ 41.4 ระบุว่าภาพรวมทางการเงินในปีนี้ มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม
     รองลงมาร้อยละ 28.3 ระบุว่า มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงิน โดยร้อยละ 61.3 ระบุว่าปัจจัยที่ทำให้มี
     เงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอ มาจากข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาแพงขึ้น
                 ทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 เลือกใช้วิธีใช้จ่ายให้ประหยัดขึ้น และคิดก่อนซื้อ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียน
     ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยร้อยละ 80.8 ระบุว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องคงไว้มากที่สุดคือ หมวด
     ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “ สภาวการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563 ” โดยเก็บข้อมูล
กับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,221 คน พบว่า
 
                 ภาพรวมทางการเงินของคนไทยในปีนี้ ร้อยละ 41.4 ระบุว่า
มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม
รองลงมาร้อยละ 28.3 ระบุว่า
มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงิน และร้อยละ 17.6 ระบุว่า มีรายได้เพียงพอ
แต่มีเงินออมลดลง
 
                 ส่วนปัจจัยที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอ
ในปัจจุบัน นั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.3 ระบุว่าข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคา
แพงขึ้น
รองลงมาร้อยละ 36.8 ระบุว่าต้องผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน และร้อยละ 29.3 ระบุว่ามี
ลูกค้าน้อยลง ธุรกิจแย่/ค้าขายไม่ดี
 
                 สำหรับวิธีจัดการ/ปรับวิธีใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่ายท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจ
ในปัจจุบัน นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 ระบุว่า ใช้จ่ายให้ประหยัดขึ้น และคิดก่อนซื้อ
รองลงมา ร้อยละ 55.7 ระบุว่า
ใช้วิธีลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดปริมาณการท่องเที่ยว และร้อยละ 22.7 ระบุว่าใช้วิธีหารายได้พิเศษ เช่น ขายของ
ออนไลน์ ขายของตลาดนัด ขับรถส่งสินค้า ฯลฯ
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่า “ในสภาวการณ์แบบนี้หากต้องคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ท่านจะคงหมวดใดไว้
มากที่สุด” โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 80.8 ระบุว่าหมวดค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์

รองลงมาร้อยละ 73.3 ระบุว่าหมวดค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆ และร้อยละ 43.8 ระบุว่าหมวดค่าการศึกษาของตนเอง
และ บุตรหลาน
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ภาพรวมทางการเงินของท่านในปีนี้เป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม
41.4
มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงิน
28.3
มีรายได้เพียงพอ แต่มีเงินออมลดลง
17.6
มีรายได้เพียงพอ มีเงินออมตามเป้าทุกเดือน
12.7
 
 
             2. ปัจจัยใดที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอในปัจจุบัน
                  (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาแพงขึ้น
61.3
ต้องผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน
36.8
ลูกค้าน้อยลง ธุรกิจย่ำแย่/ค้าขายไม่ดี
29.3
มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการดูแลผู้สูงอายุ คนป่วย คนพิการ
26.0
ตนเอง/คนในครอบครัวตกงาน/ถูกเลิกจ้าง
21.4
พืชผลทางการเกษตรเสียหาย/ราคาตก
20.6
ถูกลดเงินเดือน/ลดโอที/ลดวันทำงาน
15.1
ผ่อนสินค้า/ผ่อนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น
13.7
มีค่าเดินทางแต่ละวันเพิ่มขึ้น
12.8
จ่ายดอก จ่ายหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น
10.2
ถูกโกงเงิน/ถูกเบี้ยวเงิน
6.1
 
 
             3. วิธีจัดการ/ปรับวิธีใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่าย ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
                  (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ใช้จ่ายประหยัดขึ้น คิดก่อนซื้อ
81.7
ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดปริมาณการท่องเที่ยว
55.7
หารายได้พิเศษ เช่น ขายของออนไลน์ ขายของตลาดนัด ขับรถส่งของ ฯลฯ
22.7
กู้เงินนอกระบบ/ในระบบ
15.7
ลดการสต็อกสินค้าไว้ขาย เพราะลูกค้าลดลง
6.9
ลงทุนทำธุรกิจระยะสั้นที่ได้ผลตอบแทนสูง
3.9
ใช้จ่ายปกติ ตามเดิม ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม
11.8
 
 
             4. ในสภาวการณ์แบบนี้หากต้องคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ท่านจะคงหมวดใดไว้มากที่สุด
                  (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์
80.8
ค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆ
73.3
การศึกษาของตนเอง และ บุตรหลาน
43.8
ค่าผ่อนบ้าน/ผ่อนรถ
35.2
ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต
27.5
ค่าเดินทาง
25.8
ค่ารักษาพยาบาล
18.7
อื่นๆ อาทิ ค่าชำระหนี้ ค่าผ่อนสินค้า ค่าต้นทุนในการผลิตสินค้า ฯลฯ
2.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ สภาวการณ์ทางการเงินในปี 2563 วิธีการจัดการหรือปรับวิธี
ใช้จ่ายเงินให้สามารถมีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่ายท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 9 -11 พฤศจิกายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 14 พฤศจิกายน 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
671
55.0
             หญิง
550
45.0
รวม
1,221
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
191
15.6
             31 – 40 ปี
146
12.0
             41 – 50 ปี
287
23.5
             51 – 60 ปี
320
26.2
             61 ปีขึ้นไป
277
22.7
รวม
1,221
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
811
66.4
             ปริญญาตรี
315
25.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
95
7.8
รวม
1,221
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
227
18.6
             ลูกจ้างเอกชน
220
18.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
449
36.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
77
6.3
             ทำงานให้ครอบครัว
-
-
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
212
17.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
12
1.0
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
24
2.0
รวม
1,221
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898